วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อำนาจพนักงานสอบสวน

อำนาจพนักงานสอบสวน
ข้อ ๕ คำถาม เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม นายเอกเข้าไปล่าสัตว์ในป่าบริเวณรอยต่อระหว่างอำเภอบัวใหญ่และอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา ขณะที่ล่าสัตว์อยู่โดยไม่แน่ชัดว่าอยู่บริเวณใด นายโทใช้ปืนยิงนายเอกถึงแก่ความตาย พันตำรวจโทดำตำรวจประจำ สภ.อ.บัวใหญ่ผ่านมาเห็นเหตุการณ์จึงตามจับนายโทได้ในท้องที่อำเภอแก้งสนามนาง แล้วพันตำรวจโทดำนำตัวนายโทส่งให้แก่พนักงานสอบสวน สภ.อ.บัวใหญ่ ดำเนินคดี พนักงานสอบสวน สภ.อ.บัวใหญ่ สรุปสำนวนทำความเห็นควรสั่งฟ้องนายโทให้พนักงานอัยการพิจารณา
                ให้วินิจฉัยว่า หากพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่านายโทกระทำความผิดตามฟ้อง พนักงานอัยการจะมีคำสั่งอย่างไรต่อไป
คำตอบ ในกรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใด ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง นายโทถูกจับกุมที่อำเภอแก้มสนามนาง พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ พนักงานสอบสวน สภ.อ.แก้งสนามนางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙ วรรคสอง (ก) มิใช่พนักงานสอบสวน สภ.อ.บัวใหญ่ พนักงานอัยการต้องมีคำสั่งส่งสำนวนการสอบสวนคืนให้แก่ สภ.อ.บัวใหญ่ เพื่อให้ดำเนินการส่งสำนวนการสอบสวนให้แก่ สภ.อ.แก้งสนามนาง ดำเนินการสอบสวนและเป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องนายโทแล้วส่งไปให้พนักงานอัยการพิจารณาตามมาตรา ๑๔๐ และ ๑๔๑
คำพิพากษาฎีกา ๓๔๖๖/๒๕๔๗ กรณีที่ข้อเท็จจริงไม่ชัดแจ้งว่าเหตุเกิดขึ้นในท้องที่ใดแน่ ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๙ วรรคสอง (ก) พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน คือ พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ จำเลยถูกจับกุมที่อำเภอแก้งสนามนางพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดี คือ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมือพันตำรวจตรี ว. ซึ่งเป็นสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ ผู้ร่วมจับกุมจำเลยมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยแล้วส่งไปให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๐ และ ๑๔๑ จึงถือมิได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตามมาตรา ๑๒๐ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อสังเกตุ               หากอ่านคำพิพากษาอย่างไม่รอบคอบอาจเข้าใจผิดว่ากรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิด อาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบต้องเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจเท่านั้น พนักงานสอบสวนท้องที่อื่นไม่สามารถเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ ซึ่งเป็นคำตอบที่ผิด
เพราะมีกรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ และจับผู้ต้องหาได้แล้ว แต่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไม่ใช่พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขต อำนาจ เช่น ข้อเท็ดจจริงตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๖๖/๒๕๔๗ หากปรากฎว่าก่อนจะจับผู้ต้องหาได้ บุตรของผู้ตายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน      สภอ.บัวใหญ่ก่อนที่จะจับผู้ต้องหาได้ ต้องถือว่าพนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เพราะเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง (ข) แม้ต่อมาจะจับผู้ต้องหาได้ในท้องที่ สภอ.แก้งสนามนาง พนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหญ่ ก็ยังเป็นดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอยู่เช่นเดิม
หลักมาตรา ๑๙ วรรคสอง (ก) และ (ข) อยู่ตรงที่ว่า
(๑)   หาก “จับ” ก่อน “พบ” พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ “จับ” เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
(๒) หาก “พบ” ก่อน “จับ” พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ “พบ” เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ข้อ ๖ คำถาม เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม นายเอกพร้อมภริยาเข้าไปล่าสัตว์ในป่าบริเวณรอยต่อระหว่างอำเภอบัวใหญ่และอำเภอแก้งสนาม นาง จังหวัดนครราชสีมา ขณะที่ล่าสัตว์อยู่โดยไม่แน่ชัดว่าอยู่บริเวณอำเภอใด นายโทได้ใช้ปืนยิงนายเอกถึงแก่ความตายแล้วนายโทหลบหนีไป ภรรยาของนายเอกจึงเข้าแจ้งความต่อพันตำรวจโทดำพนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหย่ทันที หลังจากลงบันทึกประจำวันรับแจ้งความแล้วพันตำรวจโทดำยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ออกหมายจับ สาลออกหมายจับนายโท แล้วพันตำรวจโทดไพร้อมเจ้าพนักงานตำรวจ สภอ. บัวใหญ่และ สภอ.แก้งสนามนางจับนายโทได้ท้องที่อำเภอแก้งสนามนาง ต่อมาพนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหญ่ สรุปสำนวนทำความเห็นควรสั่งฟ้องนายโทให้พนักงานออัยการพิจารณา
ให้วินิจฉัยว่า หากพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่านายโทกระทำความผิดตามฟ้อง พนักงานอัยการจะมีคำสั่งอย่างไรต่อไป
คำตอบ ในกรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใด ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙ พนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหญ่และ สภอ.แก้งสนามนาง มีอำนาจสอบสวน สภอ.บัวใหญ่ได้รับการร้องทุกข์จากภริยานายเอก ก่อนที่นายโทจะถูกจับกุมที่ สภอ.แก้งสนามนาง พนักงานสอบสวน สภอ. บัวใหญ่จงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดอยู่ก่อนจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องนายโทตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง (ข) เมื่อพนักงานอัยการเห็นว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่านายโทกระทำความผิดตามฟ้อง พนักงานอัยการจะมีคำสั่งฟ้องนายโทต่อศาลต่อไป (ฎีกาที่ ๑๑๒๖/๒๕๔๔)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒๖/๒๕๔๔ ความผิดที่ได้กดระทำต่อเนื่องกันในท้องดที่ต่างๆ เกินกว่า ๑ ท้องที่ขึ้นไปนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่รหดนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙ เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อได้รับการร้องทุกข์จากผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมการจัดหางาน ผู้เสียหายก่อนที่จำเลยที่ ๑ จะถูกจับกุม ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่ม พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อจึงเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำ ความผิดก่อน ย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙ วรรคสาม (ข) และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อได้ทำการสอบสวนตลอดมาในขณะที่ยังจับจำเลยที่ ๑  ไม่ได้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๒๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น