วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำพิพากษาฎีกาน่าสนใจมาตรา 19

คำพิพากษาฎีกาที่ 9239/2547 เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในซอยบ่อนไก่ ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เพียงท้องที่เดียว สถานที่ที่จำเลยถูกจับกุมภายหลังการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน หาใช่ท้องที่ที่เกิดการกระทำความผิดด้วยไม่ เมื่อที่เกิดเหตุอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีจึงมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1579/2546 รถดยนต์หายไปดจากท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสมุทรสาคร ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยกับพวกได้พร้อมรถยนต์ที่หายไปได้ในท้องที่สถานีตำรวจอำเภอลาดบัวหลวงในข้อหาซ่องโจร
                ความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรรถยนต์เป็นความผิดต่อเนื่องซึ่งกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครจึงมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรได้ เพราะเป็นสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าว
                เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยกับพวกได้พร้อมรถยนต์ในท้องที่สถานนีตำรกวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงในข้อหาซ่องโจรซึ่งเป็นคนละความผิดกับที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครทำการสอบสวนและเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงคง ควบคุมตัวจำเลยกับพวกไว้ในข้อหาซ่องโจรเท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงไม่ได้จับกุมและกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่ กับพวกกระทำความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรรถยนต์ที่หายไป จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงจับกุมจำเลยกับพวกในความ ผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรได้แล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ก) ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวง จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ข้อสังเกตุ คดีนี้ไม่ปรากฎว่าตำรวจท้องที่ไดเป็นผู้จับจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อไม่ปรากฎว่าตำรวจท้องที่ใดจับ ตำรวจท้องที่ที่ได้รับแจ้งความว่ารถหาย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม มาตรา 19 วรรคสอง (ข)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1974/2539 ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และความผิดดังกล่าวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเรา เป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกัน รวมทั้งท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) ,(4) และวรรคสอง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวน แต่จำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในกรณีที่จับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม (ก) พนักงานสอบสวน สภอ.บางยี่ขันคงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเท่านั้น ทั้งไม่เข้ากรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม(ข) เมื่อพนักงานสอบสวน สน.บางยี่ขันซึ่งไม่ใช่พนักงา
นสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140,141 แม้จะดำเนินการสอบสวนไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสนอบสวนการกระทำความผิดนั้นก่อนโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย
ข้อสังเกตุ คดีนี้จับก่อนพบการกระทำความผิด พนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับจึงต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น