วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อ 8

ข้อ 8 คำถาม นายยอดยิงนายเยี่ยมถึงแก่ความตายในงานวัดแล้วขับรถหนีไป โดยมีชาวบ้านเห็นหลายคนรวมถึงน้องชายของนายเยี่ยมด้วย ระหว่างที่ขับรถหนีไปด้วยความเร็วสูงมากนั้น รถที่นายยอดขับเสียหลักไปชนนายแย่ซึ่งเดินอยู่ข้างทางได้รับอันตรายสาหัสต้องนอนอยู่โรงพยาบาลหลายเดือน โดยนายยอดหลบหนีไปกบดานที่จังหวัดอื่นหลายเดือน ต่อมานายยอดได้ให้เงินนางยิ้มมารดาของนายเยี่ยมจำนวน 200,000 บาท เพื่อยุติคดี และขอร้องให้นางยิ้มฟ้องคดีที่นายยอดฆ่านายเยี่ยม โดยรับปากว่าจะให้เงินเพิ่มอีก 500,000 บาท ถ้าศาลยกฟ้อง นางยิ้มจึงฟ้องนายยอดว่าฆ่านายเยี่ยมตายโดยเจตนา แล้วทนายความของนางยิ้มนำพยานเข้าไต่สวนเพียงปากเดียว คือ นางยิ้มซึ่งไม่เห็นเหตุการณ์ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง ต่อมานายยอดเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อสู้คดี พนักงานอัยการสั่งฟ้องนายยอดข้อหาฆ่านายเยี่ยมตายโดยเจตนาคดีหนึ่ง และข้อหากระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ได้รับอันตรายสาหัสอีกคดีหนึ่ง นายยอดให้การปฏิเสธคดีฆ่านายเยี่ยมตายโดยเจตนาคดีหนึ่ง แต่ให้การรับสารภาพในคดีกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งศาลลงโทษจำคุก 1 ปี ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสหลังจากศาลตัดสินคดีแล้วนายแย่ถึงแก่ความตายเนื่องจากบาดแผลที่ถูกรถชน นางยุ่งมารดาของนายแย่จึงฟ้องนายยอดในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ถึงแก่ความตาย ศาลไต่สวนมูลฟ้องและประทับฟ้องไว้พิจารณา ต่อมาศาลสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จทั้งสองคดี ข้อเท็จจริงฟังได้ว่านายยอดกระทำผิดฐานฆ่านายเยี่ยมตายโดยเจตนา และนายยอดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ถึงแก่ความตาย
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะพิพากษาคดีสองเรื่องนี้อย่างไร
คำตอบ กรณีความผิดฐานฆ่านายเยี่ยมตายนั้น แม้นางยิ้มจะฟ้องนายยอดว่าฆ่านายเยี่ยมตายโดยเจตนา จนศาลพิพากษายกฟ้องแล้วก็ตาม แต่หลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็จขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็จขาด อันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ คดีนี้นางยิ้มฟ้องแล้วนำพยานเข้าไต่สวนเพียงปากเดียว คือ นางยิ้มซึ่งไม่เห็นเหตุการณ์ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง ทั้งที่ขณะเกิดเหตุมีผู้เห็นเหตุการณ์หลายคนรวมถึงน้องชายของนายเยี่ยมด้วยทั้งนางยิ้มยังได้รับเงินค่ายุติคดีจากนายยอดด้วย คดีก่อนจึงเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นนายยอดเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด อันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ ศาลต้องพิพากษาว่านายยอดมีความผิดและลงโทษตากฎหมาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 6446/2547)
                ส่วนความผิดฐานกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ตายนั้น พนักงานอัยการเคยฟ้องนายยอดข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ได้รับอันตรายสาหัส ศาลลงโทษจำคุก 1 ปี คดีนี้นางยุ่งฟ้องข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ถึงแก่ความตายถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็จขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามมาตรา 39 (4) แม้คดีเดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ได้รับอันตรายสาหัส ส่วนคดีนี้ฟ้องฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายแย่ถึงแก่ความตาย แต่เป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกันต้องห้ามมิให้ดำเนินคดีซ้ำสอง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 3116/2525)
คำพิพากษาฎีกาที่ 6446/2547 หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39(4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็จขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้นจะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็จขาด อันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 3116/2525 โจทก์เคยฟ้องจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แม้ต่อมาผู้เสียหายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้าย โจทก์จะฟ้องจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกันในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ข้อสังเกต คดีนี้หากผู้เสียหายตายก่อนศาลพิพากษา โจทก์มีทางออกคือขอแก้ฟ้อง จากเดิมความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295 เป็นมาตรา 290 ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรแก้ฟ้องได้ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1746/2535 แต่ถ้าตายหลังจากศาลพิพากษาคงต้องเป็นไปตามคำพิพากษาฎีกาที่ตั้งข้อสังเกตนี้

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ

สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ข้อ 7 คำถาม  นายเสือหลอกนายช้างว่ามาสามารถหางานในต่างประเทศให้ทำได้ นายช้างหลงเชื่อจ่ายเงินให้นายเสือไปเมื่อวันที่ 5 มกราคม จำนวน 100,000 บาท ต่อมาวันที่ 3 มีนาคม นายช้างฟ้องนายเสือเป็นจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลแขวงพระนครเหนือโดยมิได้ร้องทุกข์ ซึ่งตามฟ้องระบุว่านายช้างรู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม เหตุเกิดที่แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน นายช้างยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง โดยขอแก้สถานที่เกิดเหตุจากเดิมเป็นเหตุเกิดที่แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และขอให้โอนคดีไปศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงพระนครเหนือมีคำสั่งอนุญาตให้นายช้างแก้ฟ้องได้ ส่วนที่ขอโอนคดีไม่มีกฎหมายให้อำนาจทำได้ให้ยกคำร้องส่วนนี้และให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้อง และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง ให้จำหน่ายคดีจากสารบบความในวันที่ 3 เมษายน ดังกล่าว
                ก. นายช้างได้ยื่นฟ้องนายเสือเป็นคดีใหม่ในข้อหาเดิมต่อศาลแขวงพระนครใต้เมื่อวันที่ 5 เมษายน นายเสือยื่นอุทธรณ์คดีก่อนต่อศาลแขวงพระนครเหนือ เมื่อวันที่ 20 เมษายน ศาลแขวงพระนครใต้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วประทับฟ้องไว้พิจารณา นายเสือให้การปฏิเสธ คู่ความสืบพยานแล้ว พยานหลักฐานฟังได้ว่าฟังได้ว่านายเสือกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องและมีการฟ้องคดีก่อนกับมีอุทธรณ์คดีก่อนดังกล่าวข้างต้น
               
                ข. หากไม่มีผู้ใดอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องในคดีก่อนของศาลแขวงพระนครเหนือ ต่อมานายช้างได้ยื่นฟ้องนายเสือเป็นคดีใหม่ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม โดยบรรยายฟ้องถึงการกระทำ เวลา และรายละเอียดอย่างเดียวกันแต่ขอให้ลงโทษในความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางานและฐานฉ้อโกงประชาชนซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ กับฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าได้ฟ้องคดีที่ศาลแขวงพระนครเหนือก่อนภายในอายุความแล้ว ศาลแขวงพระนครเหนือสั่งจำหน่ายคดี นายช้างจึงมาฟ้องนายเสือเป็นคดีต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ประทับฟ้องไว้พิจารณาคู่ความสืบพยานแล้ว พยานหลักฐานฟังได้เพียงว่า นายเสือกระทำผิดฐานฉ้อโกงเท่านั้น
                ให้วินิจฉัยว่า ศาลแขวงพระนครใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้จะพิพากษาคดีดังกล่าวอย่างไร
คำตอบ ก.นายช้างฟ้องนายเสือเป็นจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครเหนือเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ให้จำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ นายเสือยื่นอุทธรณ์ คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ห้ามโจทก์ฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหหรือศาลอื่น การที่นายช้างได้ยื่นฟ้องนายเสือใน ข้อหาเดิมต่อศาลแขวงพระนครใต้ซึ่งเป็นการกระทำในคราวเดียวกันกับคดีก่อนแม้นายเสือจำเลยจะเป็นผู้ยื่นอุทธรณ์หลังจากนายช้างยื่นฟ้องคดีนี้แต่เมื่อคดีเดิมยังไม่ยุติ กล่าวคือยังอยู่ระหว่างการ พิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ถือว่าคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา ห้ามโจทก์ฟ้องในเรื่องเดียวกัน ต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น ฟ้องของนายช้างในคดีนี้จึงเป็นฟ้องต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาดความแพ่งมาตรา 173 (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 15 ศาลแขวงพระนครใต้ต้องพิพากษายกฟ้อง(คำพิพากษาฎีกาที่ 8068/2547)
                ข. แม้นายช้างฟ้องนายเสือเป็นจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานและฐาน ฉ้อโกงประชาชน วึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ด้วย แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ประทับฟ้องไว้ พิจารณา คู่ความสืบพยานแล้ว พยานหลักฐานฟังได้เพียงว่า นายเสือกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อไม่มีการร้องทุกข์นายช้างต้องฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อนายช้างฟ้องคดีนี้เกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) (คำพิพากษาฎีกาที่ 4752/2545) แม้นายช้างจะได้ฟ้องคดีที่ศาลแขวงพระนครเหนือก่อน ภายในอายุความแล้ว   ศาลแขวงพระนครเหนือสั่งจำหน่ายคดี นายช้างจึงมาฟ้องนายเสือเป็นคดีต่อ ศาลอาญากรุงเทพใต้ บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่า จะนำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับใน การพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะที่ในกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติ เกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้นและให้นำมาใช้บังคับเพียงเท่าที่จะใช้บังคับได้ แต่บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 193/17 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงนำมาใช้บังคับกับการพิจารณาคดีอาญา ไม่ได้ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังได้บัญญัติในมาตรา 185 วรรคหนึ่ง ว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีรพิจารณา ความอาญาได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ อายุความจึงมิได้สะดุดหยุดลง คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลอาญากรุงเทพใต้จึงต้องยกฟ้อง (คำพิพากษาฎีกาที่ 588/2546,1305/2547)
คำพิพากษาฎีกาที่ 8068/2547 คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในความครอบครอง เพื่อจำหน่ายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตในประเทศไทยอันเป็นยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบและมี แสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นแสตมป์ปลอม ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าประเทศกลางใน ระหว่างระยะเวลาอุทธรณ์โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิด แสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่า 500 กรัม มีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบปลอมหรือ เพื่อออกใช้โดยรู้ว่าเป็นแสตมป์ยาสูบปลอม วึ่งเป็นการกระทำในคราวเดียวกันกับคดีก่อน แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นอุทธรณ์หลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ แต่เมื่อคดีเดิมยังไม่ยุติฟ้องโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 (1) ประกอบด้วยาประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาฎีกาที่ 4752/2545  แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 และข้อหาจัดหางานให้คนหางานไปต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แตด่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 และยกฟ้องความผิด ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ  ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์ ความผิดทั้งสองฐานจึง ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดสองฐานนี้อีกไม่ได้ และเมื่อฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตาม  ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้ เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 96 เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์เพื่อ ดำเนินคดีแก่จำเลยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป. วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 588/2546 ป.อ. ภาค 1 ลักษณะ 1 หมวด 9 ได้บัญญัติเรื่องอายุความ คดีอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว  หาได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงหรือเลิกนับ อายุความร้องทุกข์อันจะนำ ป.พ.พ.มาใช้บังคับไม่ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแขวงดุสิต ภายในกำหนดอายุความแต่เมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงดุสิต ซึ่งศาลแขวงดุสิตมีคำสั่ง จำหน่ายคดีของโจทก์ไปแล้ว การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลแขวงพระนครใต้อีกเมื่อพ้นกำหนด อายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำพิพากษาฎีกาน่าสนใจมาตรา 22

คำพิพากษาฎีกาน่าสนใจมาตรา 22
คำพิพากษาฎีกาที่ 516/2548 แม้เรือนจำกลางบางขวางเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดนนทบุรี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นบทบังคับให้ศาลจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลจังหวัดนนทบุรีจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เมื่อเหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดภูเก็ต ที่โจทก์อ้างว่าการย้ายจำเลยทั้งสองไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตจะไม่ปลอดภัยในการควบคุมและอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการย้ายนั้น เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจป้องกันและแก้ไขได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลจังหวัดนนทบุรีรับชำระคดี

คำพิพากษาฎีกาน่าสนใจมาตรา 19

คำพิพากษาฎีกาที่ 9239/2547 เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในซอยบ่อนไก่ ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เพียงท้องที่เดียว สถานที่ที่จำเลยถูกจับกุมภายหลังการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน หาใช่ท้องที่ที่เกิดการกระทำความผิดด้วยไม่ เมื่อที่เกิดเหตุอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีจึงมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1579/2546 รถดยนต์หายไปดจากท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสมุทรสาคร ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยกับพวกได้พร้อมรถยนต์ที่หายไปได้ในท้องที่สถานีตำรวจอำเภอลาดบัวหลวงในข้อหาซ่องโจร
                ความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรรถยนต์เป็นความผิดต่อเนื่องซึ่งกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครจึงมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรได้ เพราะเป็นสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าว
                เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยกับพวกได้พร้อมรถยนต์ในท้องที่สถานนีตำรกวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงในข้อหาซ่องโจรซึ่งเป็นคนละความผิดกับที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครทำการสอบสวนและเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงคง ควบคุมตัวจำเลยกับพวกไว้ในข้อหาซ่องโจรเท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงไม่ได้จับกุมและกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่ กับพวกกระทำความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรรถยนต์ที่หายไป จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงจับกุมจำเลยกับพวกในความ ผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรได้แล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ก) ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวง จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ข้อสังเกตุ คดีนี้ไม่ปรากฎว่าตำรวจท้องที่ไดเป็นผู้จับจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อไม่ปรากฎว่าตำรวจท้องที่ใดจับ ตำรวจท้องที่ที่ได้รับแจ้งความว่ารถหาย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม มาตรา 19 วรรคสอง (ข)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1974/2539 ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และความผิดดังกล่าวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเรา เป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกัน รวมทั้งท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) ,(4) และวรรคสอง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวน แต่จำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในกรณีที่จับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม (ก) พนักงานสอบสวน สภอ.บางยี่ขันคงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเท่านั้น ทั้งไม่เข้ากรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม(ข) เมื่อพนักงานสอบสวน สน.บางยี่ขันซึ่งไม่ใช่พนักงา
นสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140,141 แม้จะดำเนินการสอบสวนไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสนอบสวนการกระทำความผิดนั้นก่อนโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย
ข้อสังเกตุ คดีนี้จับก่อนพบการกระทำความผิด พนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับจึงต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อำนาจพนักงานสอบสวน

อำนาจพนักงานสอบสวน
ข้อ ๕ คำถาม เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม นายเอกเข้าไปล่าสัตว์ในป่าบริเวณรอยต่อระหว่างอำเภอบัวใหญ่และอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา ขณะที่ล่าสัตว์อยู่โดยไม่แน่ชัดว่าอยู่บริเวณใด นายโทใช้ปืนยิงนายเอกถึงแก่ความตาย พันตำรวจโทดำตำรวจประจำ สภ.อ.บัวใหญ่ผ่านมาเห็นเหตุการณ์จึงตามจับนายโทได้ในท้องที่อำเภอแก้งสนามนาง แล้วพันตำรวจโทดำนำตัวนายโทส่งให้แก่พนักงานสอบสวน สภ.อ.บัวใหญ่ ดำเนินคดี พนักงานสอบสวน สภ.อ.บัวใหญ่ สรุปสำนวนทำความเห็นควรสั่งฟ้องนายโทให้พนักงานอัยการพิจารณา
                ให้วินิจฉัยว่า หากพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่านายโทกระทำความผิดตามฟ้อง พนักงานอัยการจะมีคำสั่งอย่างไรต่อไป
คำตอบ ในกรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใด ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง นายโทถูกจับกุมที่อำเภอแก้มสนามนาง พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ พนักงานสอบสวน สภ.อ.แก้งสนามนางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙ วรรคสอง (ก) มิใช่พนักงานสอบสวน สภ.อ.บัวใหญ่ พนักงานอัยการต้องมีคำสั่งส่งสำนวนการสอบสวนคืนให้แก่ สภ.อ.บัวใหญ่ เพื่อให้ดำเนินการส่งสำนวนการสอบสวนให้แก่ สภ.อ.แก้งสนามนาง ดำเนินการสอบสวนและเป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องนายโทแล้วส่งไปให้พนักงานอัยการพิจารณาตามมาตรา ๑๔๐ และ ๑๔๑
คำพิพากษาฎีกา ๓๔๖๖/๒๕๔๗ กรณีที่ข้อเท็จจริงไม่ชัดแจ้งว่าเหตุเกิดขึ้นในท้องที่ใดแน่ ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๙ วรรคสอง (ก) พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน คือ พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ จำเลยถูกจับกุมที่อำเภอแก้งสนามนางพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดี คือ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมือพันตำรวจตรี ว. ซึ่งเป็นสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ ผู้ร่วมจับกุมจำเลยมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยแล้วส่งไปให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๐ และ ๑๔๑ จึงถือมิได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตามมาตรา ๑๒๐ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อสังเกตุ               หากอ่านคำพิพากษาอย่างไม่รอบคอบอาจเข้าใจผิดว่ากรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิด อาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบต้องเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจเท่านั้น พนักงานสอบสวนท้องที่อื่นไม่สามารถเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ ซึ่งเป็นคำตอบที่ผิด
เพราะมีกรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ และจับผู้ต้องหาได้แล้ว แต่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไม่ใช่พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขต อำนาจ เช่น ข้อเท็ดจจริงตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๖๖/๒๕๔๗ หากปรากฎว่าก่อนจะจับผู้ต้องหาได้ บุตรของผู้ตายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน      สภอ.บัวใหญ่ก่อนที่จะจับผู้ต้องหาได้ ต้องถือว่าพนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เพราะเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง (ข) แม้ต่อมาจะจับผู้ต้องหาได้ในท้องที่ สภอ.แก้งสนามนาง พนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหญ่ ก็ยังเป็นดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอยู่เช่นเดิม
หลักมาตรา ๑๙ วรรคสอง (ก) และ (ข) อยู่ตรงที่ว่า
(๑)   หาก “จับ” ก่อน “พบ” พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ “จับ” เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
(๒) หาก “พบ” ก่อน “จับ” พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ “พบ” เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ข้อ ๖ คำถาม เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม นายเอกพร้อมภริยาเข้าไปล่าสัตว์ในป่าบริเวณรอยต่อระหว่างอำเภอบัวใหญ่และอำเภอแก้งสนาม นาง จังหวัดนครราชสีมา ขณะที่ล่าสัตว์อยู่โดยไม่แน่ชัดว่าอยู่บริเวณอำเภอใด นายโทได้ใช้ปืนยิงนายเอกถึงแก่ความตายแล้วนายโทหลบหนีไป ภรรยาของนายเอกจึงเข้าแจ้งความต่อพันตำรวจโทดำพนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหย่ทันที หลังจากลงบันทึกประจำวันรับแจ้งความแล้วพันตำรวจโทดำยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ออกหมายจับ สาลออกหมายจับนายโท แล้วพันตำรวจโทดไพร้อมเจ้าพนักงานตำรวจ สภอ. บัวใหญ่และ สภอ.แก้งสนามนางจับนายโทได้ท้องที่อำเภอแก้งสนามนาง ต่อมาพนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหญ่ สรุปสำนวนทำความเห็นควรสั่งฟ้องนายโทให้พนักงานออัยการพิจารณา
ให้วินิจฉัยว่า หากพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่านายโทกระทำความผิดตามฟ้อง พนักงานอัยการจะมีคำสั่งอย่างไรต่อไป
คำตอบ ในกรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใด ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙ พนักงานสอบสวน สภอ.บัวใหญ่และ สภอ.แก้งสนามนาง มีอำนาจสอบสวน สภอ.บัวใหญ่ได้รับการร้องทุกข์จากภริยานายเอก ก่อนที่นายโทจะถูกจับกุมที่ สภอ.แก้งสนามนาง พนักงานสอบสวน สภอ. บัวใหญ่จงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดอยู่ก่อนจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องนายโทตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง (ข) เมื่อพนักงานอัยการเห็นว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่านายโทกระทำความผิดตามฟ้อง พนักงานอัยการจะมีคำสั่งฟ้องนายโทต่อศาลต่อไป (ฎีกาที่ ๑๑๒๖/๒๕๔๔)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒๖/๒๕๔๔ ความผิดที่ได้กดระทำต่อเนื่องกันในท้องดที่ต่างๆ เกินกว่า ๑ ท้องที่ขึ้นไปนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่รหดนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙ เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อได้รับการร้องทุกข์จากผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมการจัดหางาน ผู้เสียหายก่อนที่จำเลยที่ ๑ จะถูกจับกุม ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่ม พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อจึงเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำ ความผิดก่อน ย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙ วรรคสาม (ข) และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อได้ทำการสอบสวนตลอดมาในขณะที่ยังจับจำเลยที่ ๑  ไม่ได้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๒๐

ผู้เสียหายโดยนิตินัย

ผู้เสียหายโดยนิตินัย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๙๑/๒๕๔๗ การที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วม โดยกล่าวเท็จว่าจะนำเงินไปซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารรายละ ๒,๐๐๐ บาทและจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนรายละ ๕๕๐ บาท เป็นเพียงข้ออ้างของจำเลยเพื่อจูงใจให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและยินยอมมอบเงินให้จำเลย โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
ข้อสังเกต คดีนี้โจทก์ร่วมถูกหลอก โดยโจทก์ร่วมหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนรายละ ๕๕๐ บาท แม้จะเป็นค่าตอบแทนที่สูงแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งผิดกฎหมายเพราะไม่ใช่การกู้ยืมเงิน โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ถ้าผลประโยชน์ตอบแทนที่หวังว่าจะได้รับเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยร่วมกันโกงผู้อื่น จะไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๑๓/๒๕๔๖ ผู้เสียหายสมัครใจนำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่ว เพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ ๒ ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท.ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท.จึงเชื่อได้ว่า ผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย เป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิดผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อสังเกต แต่ถ้าจำเลยทั้งสองและ ว. ชวนผู้เสียหายเล่นการพนันแล้วจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันโกงผู้เสียหาย (ไม่ใช่ชวนผู้เสียหายไปโกงคนอื่น) ฎีกาที่ ๓๓๒๗/๒๕๓๒ ตัดสินว่าการพนันเป็นเหตุการณ์อันหนึ่งที่บุคคลทั้งสามสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเอาเงินผู้เสียหาย โดยวิธีการอันแนบเนียน ผู้เสียหายมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๐๐/๒๕๔๗  จำเลยได้แจ้งความร้องทุกข์โจทก์ร่วมในข้อหาทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมให้การรับสารภาพเนื่องจากโจทก์ร่วมทำร้ายร่างกายจำเลย โจทก์ร่วมให้การรับสารภาพเนื่องจากโจทก์ร่วมทำร้ายร่างกายจำเลยหลังจากจำเลยใช้อาวุธมีดแทงโจทก์ร่วมแล้ว ซึ่งคดีดังกล่าวพนักงานอัยการได้แยกฟ้องโจทก์ร่วมในข้อหาทำร้ายร่างกายศาลมีคำพิพากษาปรับโจทก์ร่วมแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายจำเลยในเหตุการณ์ที่จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ร่วมในคดีนี้โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา ๒(๔) และไม่ทำให้ไม่มีอำนาจที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามมาตรา ๓๐ โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจยื่นฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๐๓/๒๕๔๗ การที่โจทก์กับจำเลยที่ ๒ เคยมีข้อพิพาททั้งทางแพ่งและอาญามาก่อนในวันเกิดเหตุโจทก์ยังเป็นฝ่ายด่าว่ายกมือไหว้สาปแช่งจำเลยที่ ๒ จนเกิดการทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ย่อมฟังได้ว่าเป็นการที่สมัครใจเข้าวิวาทกัน โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒(๔) ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๘
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๕๒๓/๒๕๔๕ บริษัทจำเลยที่ ๑ มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ และพร้อมที่จะคัดลอกหรือทำซ้ำติดตั้งลงในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์และส่งมอบให้ไว้ในวันที่ ฟ. ไปสุ่มซื้อได้ทันที แม้การกระทำของ ฟ. จะเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่ก็ไม่เป็นการชักจูงใจหรือก่อให้ฝ่ายจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ขึ้นมา เพราะจำเลยมีเจตนากระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา ๒๖ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา ๒(๔) และมาตรา ๒๘ (๒)
ข้อสังเกต แต่ถ้าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดอยู่ก่อนแล้วโจทก์ไปจูงใจหรือก่อให้ฝ่ายจำเลยกระทำผิด โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๘๕/๒๕๔๕ เมื่อเกิดกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ทำละเมิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ ได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา เมื่อโจทก์เลือกฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา คดีโจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ. จัดตั้งทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา ๒๖ ที่ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒(๔) และมาตรา ๒๘ (๒) ด้วย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์สืบยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าจำเลยมีเจตนากระทำความอยู่ก่อนแล้ว และคดีได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้าง ฟ. ไปทำการล่อซื้อ จึงเท่ากับว่าโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามคำฟ้องขึ้นเองโจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาฎีกาน่าสนใจมาตรา ๒(๔),๕

คำพิพากษาฎีกาน่าสนใจมาตรา ๒(๔),๕
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๓๗/๒๕๔๘ แม้โจทก์เป็นพนักงานสอบสวนที่มีความเห็น สั่งฟ้องจำเลยในคดีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยเพราะพยานหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ข้อหาตามที่โจทก์ฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มาตรา ๑๕,๖๖ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย แม้โจทก์จะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ แต่ก็มีอำนาจหน้าที่เพียงเท่าที่กฎหมายกำหนดให้กระทำ คือ มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิหจารณาความอาญา มาตรา ๒(๖) เท่านั้น และโจทก์มิใช่บุคคลผู้ได้รับคสามเสียหายจากการกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตามป.วิ.อ. มาตรา ๒(๔) ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๑๗/๒๕๔๘ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพหนักงานอัยการโดยมิได้ระบุว่า อนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใดต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ เฉพาะความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฐานลักทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ส่วนความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐานไหม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิด เกี่ยวกับรัฐโดยตรง แม้จำเลยจะย้ายศพ จ. ผู้ตาย เพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายก็ตาม โจทก์ร่วมซึ่งเป็น บิดาผู้ตายก็ไม่ได้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากกระหทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒(๔) จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาทำลายพยานหลักฐานจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักในข้อหาทำลายพยานหลักฐาน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑  รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวแล้วพิพากษายืน จึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสองประกอบด้วยมาตรา ๒๒๕
ศาลอุทธรณ์ภาคหนึ่งพิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จึงต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๑๘ วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา ๒(๑๔) ได้นิยามศัพท์คำว่า “โจทก์” ไว้ว่า หมายดความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๑๗๙/๒๕๔๗ จำเลยที่ ๓ แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อ พนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ ๓ ได้ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวจำเลยที่ ๔ ได้รับบาดเจ็บ เพื่อประสงค์ให้พนักงานสอบสวน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ซึ่งเป็นเอกสารราชการเพื่อใช้เป็น พยานหลักฐานเท่านั้นอันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรง โดยที่จำเลยที่ ๓ มิได้เจาะจง ว่ากล่าวถึงโจทก์เลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ข้อความเท็จนั้นจะครบ องค์ประกอบเป็นความผิดตามมาตรา ๑๓๗ และมาตรา ๒๖๗ แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้ง มิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ที่กระทบกระเทือนถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
การที่จำเลยที่ ๓ นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อพนักงานตำรวจไปเป็น หลักฐานยื่นคำร้องขอรับชำระค่าเสียหาย จากโจทก์ในฐานะผู้รับประกันนภัยรถจักรยานยนต์ของ จำเลยที่ ๓ อันเป็นการกระทำที่จะเกิด ความเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ยังไม่ได้จ่ายค่าเสียหาย ให้แก่จำเลยที่ ๓ เพราะโจทก์ทราบมาก่อน ฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ ๓ แจ้งความเท็จ ทั้งการกระทำของ จำเลยที่ ๓ ในส่วนหลังเกิดขึ้นหดลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าพนักงานตำรวจได้จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วเป็นการกระทำ อีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ ดังนั้น จะเอาการกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๓๗ และมาตรา ๒๖๗ มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายส่วนนี้ไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายสำหรับความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา ๑๓๗ และฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลง ในเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๗ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อสังเกตุ  คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในความยผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา ๑๓๗ และฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จ ลงในเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๗ โดยมิได้ฟ้องความผิดฐานใช้ ตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๘ มาด้วย ซึ่งศาลฎีกาก็วินิจฉันว่าการที่จำเลยยที่ ๓ ใช้หลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ไปเป็นหลักฐานยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายจากโจทก์ ไม่อาจนำมาพิจารณาความเป็นผู้เสียหาย ในความผิดฐานแจ้งได้
                ข้อเท้จจริงตามาฎีกานี้หากฟ้องความผิดฐานใช้ตามมาตรา ๒๖๘ ด้วย น่าคิดว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่ เพราะโจทก์ยังไม่ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลย แม้โจทก์ยังไม่ได้จ่ายเงินตามที่ถูกหลอกโดยใช้เอกสารดังกล่าว ก็อาจเกิดความเสียหายบางประการแก่โจทก์แล้ว ปัญหาว่าจะเป็นความเสียหายโดยตรงหรือไม่ เช่น พนักงานของโจทก์ต้องมาให้บริการจำเลย ต้องเสียกระดาษ เสียหมึกที่เขียนรายงาน เสียค่าโทรศัพท์ติดต่อเพื่อยืนยันว่าจำเลยแจ้งความเท็จหรือไม่ ซึ่งเหล่านี้อาจมองได้หรือไม่ว่าเป็นความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิดของจำเลย หรือจะมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกิจการของโจทก์เอง ซึ่งต้องจ่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่ความเสียหายโดยตรง ก็คงต้องรอดูต่อไป
                แม้โจทก์จะไม่ใช่ผู้เสียหายตามที่ศาลฎีกาตัดสินแต่ถ้าโจทก์ไปร้องทุกข์ให้พนักงาน สอบสวนดำเนินคดี ปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่ก็คงหมดไป ซึ่งเคยมีคำพิพากษาฎีกาตัดสินลงโทษคดีทำนองนี้มาแล้ว เช่น ล. แจ้งความเท็จว่ารถหาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัท ประกันภัย ผิดมาตรา ๑๗๓,๒๖๗ กรรมเดี่ยวผิดหลายบท ลงโทษตามมาตรา ๑๗๓ บทหนัก(ฎีกาที่ ๕๕๘๔/๒๕๔๓) อย่างไรก็ตามการกระทำของจำเลยในคดีนี้อาจเป็นความผิดฐานฉ้อโกงด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๕๗๘/๒๕๔๗ โจทก์ร่วมเป็นผู้รับจ้างขนส่งกระเบื้องจากบริษัท ค. ผู้ว่าจ้างไปส่งให้แก่ร้านค้าจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลและจะต้องรับผิดชำระค่ากระเบื้องที่สูญหายไป ในระหว่างการขนส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงในการที่กระเบื้องดังกล่าวสูญหายไป (คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับของโจร)
ข้อสังเกตุ คดีนี้หากนำไปออกข้อสอบสามารถหลอกได้ง่ายเพราะถ้าถามว่า พนักงานอัยการฟ้องคดีฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรแล้วเจ้าของกระเบื้องและผู้รับจ้างขนส่งยื่น คำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ศาลจะมีคำสั่งอย่างไร หลายคนคงตอบว่าเจ้าของทรัพย์เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้แต่ผู้รับจ้างเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ได้
                คำพิพากษาฎีกานี้ตัดสินในปัญหาที่ว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมา แต่มีปัญหาที่จำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมาซึ่งน่าสนใจก็คือคดีนี้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจร และขอให้คืนทรัพย์หรือใช้ราคา ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษและให้คืนทรัพย์หรือใช้ราคาด้วย จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาในประเด็นการคืนทรัพย์หรือใช้ราคา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจึงมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวว่าจะให้ใช้ราคาให้โจทก์ร่วมได้หรือไม่ คดีนี้โจทก์ร่วมจะมีสิทธิได้คืนทรัพย์หรือชดใช้ราคาเมื่อโจทกด์ร่วมชำระค่ากระเบื้องที่สูญหายไป ในระหว่างขนส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างแล้ว ถ้ายังไม่ชำระก็ไม่น่าจะมีสิทธิได้รับคืนทรัพย์หรือใช้ราคา
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๕๘๒/๒๕๔๗  โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมบัตรเครดิตวีซ่าและนำบัตรเครดิตที่ปลอมนั้นไปใช้หลอกลวงร้านค้า ห. ด้วยการแสดงข้อดความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้มีชื่อถือบัตรดังกล่าว และได้ไปซึ่งกระเป๋าของกลางสองใบ โดยมิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับโทรศัพพท์เคลื่อนที่และไม่ได้ขอให้ศาลสั่งริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังกล่าวมาในฟ้องศาลย่อมริบไม่ได้ตาม มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง ส่วนกระเป๋าของกลาง เจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจึงริบไม่ได้เช่นกันตาม ป.อ. มาตรา ๓๓ วรรคท้าย
                แม้พนักงานอัยการโจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกรายการขายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยก็ตามแต่เมื่อความ เสียหายที่ธนาคาร ท. ได้รับนั้นเป็นเพียงความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญา จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒(๔) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตามป.วิ.อ.มาตรา ๔๓ ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา ๒๒๕
                แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๒๖๙/๔ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา ๒๖๕ และ ๒๖๘ มาบังคับแก่จำเลย
ข้อสังเกต คดีนี้ร้านค้าที่จำเลยไปซื้อของเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง ธนาคารที่จ่ายเงินให้ร้านค้าดังกล่าวไปไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่างเงินให้แก่ร้านค้าเฉพาะกรณีที่มีการซื้อสินค้าหรือใช้บริการโดยผู้ถือบัตรเครดิตที่ถูกต้องเท่านั้น หากผู้ไม่มีสิทธินำบัตรเครดิตไปใช้ธนาคารก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าซึ่งธรรมเนียมทางธุรกิจอาจจะแตกต่างกับหลักดังกล่าวเพราะธนาคารจะจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าทันทีเมื่อร้านค้านำสลิปการใช้บัตรเครดิตมาเบิกเงิน โดยไม่ได้ตรวจดูว่าลายมือชื่อในสลิปถูกต้องหรือไม่ เป็นเรื่องของความสะดวกในทางการค้า หรืออาจจะมีข้อตกลงกันเองว่าถ้าสลิปไม่ถูกต้องร้านค้าต้องคืนเงินแก่ธนาคารซี่งก็เป็นเรื่องการผ่อนผันกันเองทางธุรกิจ แต่เมื่อจะต้องคืนทรัพย์ในคดีอาญาคงต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิที่แท้จริงตามกฎหมาย ก็คือต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกฉ้อโกง แม้ผู้ถูกฉ้อโกงจะได้รับเงินจากธนาคารมาแล้ว ก็ไม่ได้ทำให้ฐานะของผู้เสียหายหมดไปตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๒๐/๒๕๔๖ ที่กล่าวมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามร้านค้าที่ถูกฉ้อโกงต้องคืนเงินให้แก่ธนาคารเพราะเป็นการรับเงินไว้จากธนาคารโดยมี่สิทธิ อาจจะเป็นการคืนฐานลาภมิควรได้ หรืออาจจะต้องคืนให้ตามสัญญาก็ได้ซึ่งต้องดูจากข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๕๒/๒๕๔๕  จำเลยปลอมลายมือชื่อของ ช. กรรมการผู้จัดการบริษัท น.ใน คำขอจดทะเบียนบริษัทตำกัด แล้วนำคำขอจดทะเบียนนั้นไปยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพื่อให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการบริษัทดังกล่าว โดยถอนชื่อจากผู้ร้อง ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท น. ออกจากตำแหน่ง การกระทำของจำเลยย่อมเกิดผลกระทบโดยตรงต่อสถานะความเป็นผู้แทนนิติบุคคลของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย เฉพาะในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘ และเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒(๔) มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๐
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๑๗/๒๕๔๕ โจทก์ซึ่งได้รับอันตรายสาหัสฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑,๓๐๐ และ ๓๙๐ พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา ๔๓(๔) และ๑๕๗ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายอื่นที่เป็นผู้เยาว์ หรือเป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีผู้เสียหายอื่น ซึ่งถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเหล่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๕ (๑) และ(๒) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑,๓๐๐ และ ๓๙๐ ซึ่งบุคคลอื่นเป็นผู้เสียหาย และโดยที่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา ๔๓ (๔) และ ๑๕๗ เพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามมาตรา ๔๓ (๔) และ ๑๕๗ ด้วยศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ และ ๓๙๐ และพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา ๔๓(๔) และ ๑๕๗

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผู้เสียหาย ผู้มีอำนาจจัดการแทน 4

ข้อ ๔ คำถาม นายเอกอยู่กินกับนางโทโดยมิได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน คือนายตรีอายุ ๑๗ ปี คืนหนึ่งนายตรีไปเที่ยวปีใหม่นายตรีพบนายดำซึ่งเป็นคู่อริ นายดำใช้ไม้ตีขานายตรีได้รับอันตรายแก่กายแล้วหลบหนีไป ต่อมาขณะที่กำลังเดินทางกลับบ้านโดยใช้ไม้ที่เก็บได้ข้างทางพยุงร่างกาย นายตรีพบนายแดงคู่อริเก่าอีกคนหนึ่ง นายแดงใช้ไม้ตีนายตรีจนศีรษะแตกแล้วสลบไปต้องนอนให้น้ำเกลือและใส่สายช่วยหายใจตลอดเวลาหลายเดือนเนื่องจากถูกตีที่ศีรษะ ต่อมานางโทเสียใจที่บุตรบาดเจ็บจนนางโทถึงแก่ความตาย พนักงานอัยการฟ้องนายดำในข้อหาทำร้ายร่างกายนายตรีเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย และนายแดงข้อหาทำร้ายร่างกายนายตรีเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส
                ให้วินิจฉัยว่า นายเอกจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงและนายดำเป็นจำเลยได้หรือไม่
คำตอบ กรณีการจัดการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๑) นั้น นายตรีผู้เสียหายอายุ ๑๗ ปี เป็นบุตรของนายเอกและนางโท แต่นายเอกและนางโทไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นายเอกไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองและไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมที่มีอำนาจจัดการแทนนายตรีผู้เสียหาย เพราะนายตรีมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเอก นายเอกจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา ๕(๑) ทั้งในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายดำและนายแดงเป็นจำเลย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๐๖/๒๕๔๕)
                กรณีการจัดการแทนตามมาตรา ๕ (๒) นั้น นายตรีสลบไปต้องนอนให้น้ำเกลือและใส่สายช่วยหายใจตลอดเวลาหลายเดือนเนื่องจากการถูกนายแดงตีศีรษะ นายเอกในฐานะผู้บุพการีของนายตรีผู้เสียหาย มีอำนาจจัดการแทนนายตรีที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ เพราะผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา ๕(๒) กฎหมายใช้คำว่าผู้บุพการีจึงมีความหมายถึงผู้บุพการีความเป็นจริงตามสายโลหิต นายเอกจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องนายแดงเป็นจำเลยได้ตามมาตรา ๕(๒) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๘๔/๒๕๑๖) ประชุมใหญ่
                 ส่วนนายดำเพียงแต่ใช้ไม้ตีขานายตรีได้รับอันตรายแก่กายแล้วหลบหนีไปเท่านั้น บาดแผลที่เป็นเหตุให้นายตรีบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ มิได้เกิดจากกการกระทำของนายดำ จึงมิใช่กรณีที่นายตรีถูกนายดำทำร้ายบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ นายเอกซึ่งเป็นผู้บุพการีจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนนายตรีและมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายดำเป็นจำเลยตามมาตรา ๕(๒) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๗๙/๒๕๔๖)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๐๖/๒๕๔๕ ผู้เสียหายอายุ ๑๗ ปีเศษเป็นบุตรของโจทก์ร่วมกับ ส. แต่โจทก์ร่วมกับส.มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เสียหายจึงไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วม เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนว่าผู้เสียหายเป็นบุตร โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองและมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา ๕ (๑) จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานัยการและไม่มีฐานะเป็นโจทก์ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๗๙/๒๕๔๖ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๐ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๕ ที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่จำเลยเตะบริเวณแก้มของผู้ตายเป็นการเล็งเห็นผลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องและเป็นข้อหาที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีจึงมี่อำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕(๒) และโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อที่สองที่ว่า จำเลยทำร้ายผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้าย และอุทธรณ์ข้อที่สามที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายในสถานหนังที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อที่สองและข้อที่สามของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผู้เสียหาย ผู้มีอำนาจจัดการแทน 3

ข้อ ๓ คำถาม  เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘ นายสมเดชสั่งจ่ายเช็คผู้ถือลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ โดยรู้ว่าไม่มีเงินในบัญชี เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่นายวิชัย ต่อมาวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๘ นายวิชัยสลักหลังโอนเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่นางแดง นางแดงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเหมื่อดวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ นางแดงได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีนายสมเดชหลังจากร้องทุกข์แล้ว ขณะที่ขับรถกลับบ้านนางแดงขับรถด้วยความเร็วสูงมากทั้งที่เป็นแหล่งชุมชน เป็นเหตุให้ชนกับรถที่นางสมทรงขับออกมาจากซอยโดยไม่ระมัดระวัง เป็นเหตุให้นางแดงถึงแก่ความตายทันที
                ให้วินิจฉัยว่า ก.นางแดงมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานนสอบสวนให้ดำเนินคดี นายสมเดชได้หรือไม่
                ข. นางดำบุตรของนางแดงจะเป็นโจทก์ฟ้องนายสมเดชตาม พ.ร.บ.เช็คฯ และฟ้องนายสมทรงฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นางแดงถึงแก่ความตายได้หรือไม่
คำตอบ  ก.นายวิชัยสลักหลังโอนเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่นางแดง นางแดงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของนายสมเดช ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญามาตรา ๒(๔) เพราะเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือซึ่งย่อมโอนให้แก่กันได้ด้วยการส่งมอบ นางแดงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นางแดงจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงที่มีอำนาจร้อองทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับ นายสมเดชได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๑๕๘/๒๕๔๖)
ข.ความผิดตามพ.ร.บ.เช็คฯ  นั้น นางแดงถึงแก่ความตายเพราะขับรถชนกับนางสมทรง มิได้ถูกนายสมเดชทำร้ายถึงตายตามมาตรา ๕ (๒) นายดำจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนนางแดงผู้เสียหายได้ แม้นางแดงจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแต่นางแดงก็ยังไม่ได้ฟ้องคดี ก็มิใช่กรณีที่ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลงที่นางดำผู้สืบสันดานจะดดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ตามมาตรา ๒๙ นางดำจึงฟ้องขอให้ศาลลงโทษนายสมเดชตาม พ.ร.บ.เช็คฯ ไม่ได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๖๒/๒๕๔๗)
                ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นางแดงถึงแก่ความตายนั้น แม้นางสมทรงขับรถออกมาจากซอยโดยไม่ระมัดระวังซึ่งเป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้นางแดงถึงแก่ความตายแต่การที่นางแดงขับรถด้วยความเร็วสูงมากทั้งที่เป็นแหล่งชุมชนนางดำซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของนางแดงไม่มีอำนาจจัดการแทนนางแดงผู้ตายตามมาตรา ๕ (๒) เนื่องจากเหตุรถชนกันเกิดขึ้นก็เพราะนางแดงมีส่วนกระทำโดยประมาท นางแดงจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย นางดำจึงฟ้องขอให้ศาลลงโทษนางสมทรงฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นางแดงถึงแก่ความตายไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๑๒๘/๒๕๔๗)
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๑๕๘/๒๕๔๖ ธ.โอนสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเช็คพิพาทให้แก่ ส.แล้ว กอรปกับเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และนับเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง เมื่อ ธ. เป็นผู้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยการร้องทุกข์ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๖๒/๒๕๔๗  ว.บิดาโจทก์เป็นผู้ถูกจำเลยหลอกลวงเอาทรัพย์ของ ว. ไป ว.จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๒) โจทก์จึงไม่มีอำนาจจัดการแทน ว. ได้ การที่ ว.ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ฟ้องคดี ก็ไม่ต้องด้วยมาตรา ๒๙ ที่โจทก์จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
หมายเหตุ ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ผู้ถูกหลอกลวงกับผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกฉ้อโกง ต่างเป็นผู้เสียหายโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒ (๔)
                ผู้ที่เป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาตามมาตรา ๒๘(๒) เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการตามมาตรา ๓๐ ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัวตามมาตรา๓๕ วรรคสอง ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๓ ได้ ในกรณีที่ผู้เสียหายตาย ถ้าเป็นกรณีถูกทำร้ายถึงตาย ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาของผู้เสียหายมีอำนาจจัดการแทนได้ตามมาตรา ๕(๒) และมีอำนาจตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓ ถ้าไม่ใช่เป็นกรณีตามมาตรา ๕ (๒) กล่าวคือผู้เสียหายไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตาย แต่ถูกกระทำความผิดฐานอื่นไม่ว่าเป็นความผิดอาญาที่ทำต่อทรัพย์สินของผู้เสียหายหรือไม่ก็ตามต่อมาผู้เสียหายถึงแก่กรรม ทายาทของผู้เสียหายก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้เสียหายมีอำนาจดังกล่าวได้ เพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดกตกแก่ทายาท (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๑๙/๒๕๒๑,๓๓๙๕/๒๕๒๕) คงมีแต่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๒๖ เท่านั้นที่ผู้เสียหายตายเสียก่อนร้องทุกข์ก็ให้บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามมาตรา ๓๓๓
                กรณีที่การตายของผู้เสียหายเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๙ ให้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้โดยมาตรา ๒๙ ให้บุคคลดังกล่าวดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเท่านั้นไม่ได้ถือว่าเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องได้เองเป็นต่างหาก
                แต่กรณีที่ผู้เสียหายร้องทุกข์แล้วตายลงก่อนยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่ต้องด้วยมาตรา ๒๙ และไม่มีบทบัญญัติที่ให้ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไป หรือไปฟ้องคดีอาญาได้เองตามมาตรา ๒๘ (๒) จึงไม่มีผู้ใดดำเนินคดีต่อไปได้นอกจากพนักงานอัยการจะเป็นผู้ฟ้องคดีตามมาตรา ๒๘(๑)
                คดีนี้ ว.เป็นเจ้าของทรัพย์และถูกจำเลยหลอกลวง ว.จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงในความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒(๔) ว.ร้องทุกข์แล้วตายลงก่อนฟ้อง โจทก์จึงเป็นทายาทของ ว.มิใช่ผู้เสียหายโดยตรงจึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา ๒๘ (๒) คงได้แต่รอให้มีการสอบสวนและพนักงานอัยการเป็นผู้ยื่นฟ้องตามมาตรา ๒๘(๑) เท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๑๒๘/๒๕๔๗  แม้จำเลยจะขับรถจักรยานยนต์โดยประมาท ชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายตกจากรถ ศีรษะฟาดพื้นและถึงแก่ความตาย แต่เหตุรถชนกันเกิดขึ้นเพราะผู้ตายซึ่งเป็นภริยาโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำโดยประมาท ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นสามีย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๕(๒) จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานดังกล่าวและไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษการที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อนี้และพิพากษาจำคุกจำเลยมาจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา ๒๒๕ 

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผู้เสียหาย ผู้มีอำนาจจัดการแทน 2

ข้อ ๒. คำถาม  นายแดงบุกรุกเข้าไปในที่ดินของนายดำคืนวันที่ ๑ มกราคม และอยู่ในที่ดินดังกล่าวตลอดมา ต่อมาวันที่ ๑ มีนาคม นายดำจดทะเบียนขายที่ดินให้นายขาว โดยนายดำได้รับชำระราคาค่าที่ดินตามราคาตลาด ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยนายแดงก็ยังอยู่ในที่ดินดังกล่าวขณะซื้อขายที่ดิน ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายแดงเป็นจำเลยว่ากระทำความผิดฐานบุกรุกเวลากลางคืน ระหว่างพิจารณานายดำและนายขาวยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
                ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะสั่งคำร้องของนายดำและนายขาวอย่างไร
คำตอบ ขณะที่นายแดงบุกรุกที่ดินเป็นของนายดำ นายดำเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของนายแดงนายดำจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒(๔) การที่ต่อมานายดำจดทะเบียนขายที่ดินให้นายขาว แม้นายดำจะได้รับชำระราคาค่าที่ดินดังกล่าวจากนายขาวก็ตาม ก็เป็นสิทธิตามสัญญาซื้อขาย หามีผลกระทบกระเทือนสิทธิของนายดำซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วฐานะผู้เสียหายที่ดำเนินการฟ้องร้องนาย แดงในความผิดฐานบุกรุกแต่อย่างใดไม่ ฐานะการเป็นผู้เสียหายของนายดำจึงมิได้สิ้นไป (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๒๐/๒๕๔๖) นายดำยังมีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
                นายแดงกระทำความผิดฐานบุกรุกเมื่อคืนวันที่ ๑ มกราคม แม้นายแดงจะยังอยู่ในที่ดินต่อมาจนถึงวันที่นายขาวรับโอนที่ดินเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม แต่นายแดงยังมิได้กระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินของนายขาวขึ้นมาอีกกรรมหนึ่ง เพราะความผิดฐานบุกรุกเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่วันที่นายแดง “เข้าไป” ในที่ดินเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง การที่นายแดงอยู่ในที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุก เมื่อไม่มีการบุกรุกขึ้นมาใหม่ นายขาวจึงไม่ใช่ผู้เสียหายจากการกระทำผิดฐานบุกรุกของนายแดง นายขาวไม่อาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๘๖/๒๕๓๙) ศาลต้องยกคำร้องของนายขาว
               

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๒๐/๒๕๔๖  ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับนั้น บริษัทโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒(๔) และการที่โจทก์โอนขายทรัพย์สิน ตลอดจนภาระผูกพันของจำเลลยทั้งสองไปให้กองทุนรวมแกรมม่าแคปปิตอลดำเนินการบริหารจัดการนั้น ก็เป็นไปตามพ.ร.ก.ปฏิรูปสถาบันการเงินฯ มาตรา ๒๗ หามีผลกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วในฐานะผู้เสียหายที่ดำเนินการฟ้องร้อง จำเลยทั้งสองในความผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่อย่างใดไม่ แม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทดังกล่าวจากกองทุนรวมแกรมม่าแคปปิตอลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ฐานะการเป็นผู้เสียหายของโจทก์ในคดีอาญาสิ้นไปเพราะกองทุนรวมแกรมม่าแคปปิตอลมิได้ชำระหนี้แทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงยังคงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๘๖/๒๕๓๙ ความผิดฐานบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา ๓๖๒ มี ๒ ตอน ตอนหนึ่งเข้าไปเพื่อถือการครอบครอง อีกตอนหนึ่งคือเข้าไปเพื่อรบกวนการครอบครองของเขา จำเลยเข้าไปครอบครองที่พิพาทของโจทก์ร่วมตลอดเวลาต่อๆ มานั้น การกระทำอันหนึ่งคือการเข้าไปแม้จะล้อมรั้วและครอบครองตลอดมาก็เป็นการกระทำอีกขั้นหนึ่ง การกระทำส่วนหลังเป็นการกระทำผิดลำพังแต่เพียงประการเดียวไม่ได้ เมื่อการเข้าไปอันเป็นการกระทำส่วนแรกยุติเสร็จสิ้นลงแล้ว การกระดทำในส่วนหลังต่อๆ มาก็ไม่เป็นความผิดต่อเนื่องติดต่อกันตลอดเวลา เพราะความผิดฐานบุกรุกได้เกิดขึ้นสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปกรระทำการดังกล่าว  ส่วนการครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลจากการบุกรุก การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๖๕
ข้อสังเกตุ คดีนี้จำเลยเข้าไปในที่ดินเวลากลางวันและครอบครองที่ดินต่อเนื่องมา ทั้งกลางวันและกลางคืน โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษฐานบุกรุกเวลากลางคืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการครอบครองต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุก แม้ครอบครองเวลากลางคืนด้วยก็ไม่ผิดฐานบุกรุกเวลากลางคืน ผิดเพียงฐานบุกรุกเวลากลางวัน เพราะความผิดฐานบุกรุกไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ประเด็นที่นำมาตอบคำถามข้อนี้ สำหรับคำถามข้อนี้หากไม่ได้ถามเรื่องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแต่เปลี่ยนข้อเท็จจริง เป็นบุกรุกเวลากลางวันและครอบครองต่อเนื่องกันมาทั้งกลางวันและกลางคืนแต่พนักงานอัยการฟด้องข้อหาบุกรุกเวลากลางคืน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุกรุกเวลากลางวัน ก็ลงทาได้ตามมาตรา ๑๙๒ แต่ถ้าข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าร้องทุกข์เมื่อใด และไม่มีเหตุฉกรรจ์ ก็ต้องยกฟ้องเพราะความผิดฐานบุกรุกไม่มีการร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือน พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจสอบสวน พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนนาจฟ้อง เพราะไม่มีการสอบสวนมาก่อน

ผู้เสียหาย ผู้มีอำนาจจัดการแทน

ข้อ ๑. คำถาม  เด็กหญิงแดงอายุ ๑๔ ปี ๑๐ เดือน รักใครชอบพอนายดำ ายดำชวนเด็กหญิงแดงไปที่บ้านนายดำแล้วนายดำขอร่วมประเวณีด้วย เด็กหญิงดำชอบพอนายดำอยู่แล้วจึงยินยอมให้นายดำกระทำชำเรา หลังจากนั้นนายดำไปส่งเด็กหญิงแดงที่บ้าน เมื่อนายดำกลับมาถึงดบ้านก็พบนางสาวขาวอายุ ๒๑ ปี ซึ่งนายดำแอบชอบนางสาวขาวมานาน แต่นางสาวขาวไม่ชอบนายดำเพราะนางสาวขาวมีแฟนอยู่แล้ว นายดำจึงข่มขืนกระทำชำเรานางสาวขาวหลังเกิดเหตุนางสาวขาวไปพบแพทย์ทันทีเพื่อให้เก็บคราบอสุจิไว้ตรวจพิสูจน์ความผิดของนายดำ นางสาวขาวเสียใจที่ถูกข่มขืนจึงล้มป่วยโดยยังสามารถพูดจาได้ แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ในวันสุดท้ายที่จะร้องทุกข์ได้ นางสาวขาวมอบอำนาจด้วยวาจาให้นางเหลืองมารดาของนางสาวขาวไปแจ้งความดำเนินคดีกับ นายดำข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา ตอนแรกพนักงานสอบสวนจะไม่รับคำร้องทุกข์ แต่เมื่อนางเหลืองยืนยันอย่างหนักแน่นว่านางสาวขาวมอบอำนาจให้ตนมาร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดี กับนายดำข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา ที่ไม่ได้ทำหลักฐานกดารมอบอำนาจเป็นหนังสือเนื่องจากนางสาวขาวป่วยจนไม่อาจเคลื่อนไหวได้ พนักงานสอบสวนจึงรับคำร้องทุกข์โดยบันทึกเรื่องการมอบอำนาจด้วยวาจาและการร้องทุกข์ด้วย วาจาไว้พร้อมทั้งลงวันเดือนปีและลายมือชื่อพนักงานสอบสวนกับนางเหลือง ต่อมาพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเสร็จและมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายดำทุกคดี และพนักงานอัยการสั่งฟ้องนายดำข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงแดงซึ่งอายุๆไม่เกิน ๑๕ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๗๗ ข้อหาพรากเด็กตามมาตรา ๓๑๗ คดีหนึ่ง และข้อหาข่มขืนกดระทำชำเรานางสาวขาวอีกคดีหนึ่ง
                ก. นางเขียวยื่นคำร้องว่าเป็นมารดาผู้มีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงแดงขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการในความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก และขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็ก นายดำขอให้ยกคำร้อง
                ข. นางเหลืองยื่นคำร้องว่า ตนได้รับมอบอำนาจจากนางสาวขาวด้วยวาจาให้มาขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเนื่อง จากนางสาวขาวป่วยจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ นายดำขอให้ยกคำร้อง และนายดำยื่นคำร้องขอให้ศาลยกฟ้องในปัญหาข้อกฎหมายเนื่องจากการมอบอำนาจร้องทุกข์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าไม่มีการร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว พนักงานอัยการไมม่มีอำนาจฟ้อง
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะมีคำสั่ง คำร้องของนางเขียวมารดาของเด็กหญิงแดง คำร้องของนางเหลืองมารดาของนางสาวขาว และคำร้องของนายดำจำเลย อย่างไร
คำตอบ ก.ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กนั้น เด็กผู้ถูกกระทำชำเราเป็นผู้เสียหาย เพราะเป็นการกระทำต่อเด็ก แม้กฎหมายจะคุ้มครองเด็กผู้ถูกกระทำชำเรา โดยไม่อาจถือว่าเด็กหญิงแดงเป็นผู้มีส่วนร่วมกระทำความผิดได้ แต่เมื่อเด็กหญิงแดงยินยอมให้นายดำกดระทำชำเรา เด็กหญิงแดงก็ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยเพราะยังถือว่าเด็กหญิงแดงนั้นรู้เห็นเป็นใจให้นายดำกระทำผิด เมื่อเด็กหญิงแดงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย นางเขียวมารดาของเด็กหญิงแดงผู้จัดการแทนก็ไม่มีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงแดงในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กได้
                ส่วนความผิดฐานพรากเด็ก เป็นความผิดฐานพรากเด็ก เป็นความผิดที่กระทำต่ออำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เมื่อนางเขียวมารดาของเด็กหญิงแดงซึ่งเป็นผู้เสียหายในความมผิดดังกล่าวมิได้รู้                            เห็นเป็นใจให้นายดำพรากเด็กหญิงแดง นางเขียวจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานพรากเด็ก ตามมาตรา ๒(๔)มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นได้ตามมาตรา ๓๐
                ศาลจะสั่งอนุญาตให้นางเขียวเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็ก แต่ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก
                ข.การที่นางสาวขาวป่วยจนไม่อาจเคลื่อนไหวได้จึงมอบอำนาจด้วยวาจาให้นางเหลืองมา ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น แม้การฟ้องคดีอาญาหรือการยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์จะถือว่าไม่เป็นการดที่ต้องทำเองเฉพาะตัว สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนได้(คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๑/๒๕๐๓)แต่การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการฟ้องคดีอาญา และการฟ้องคดีอาญาตามมาตรา ๑๕๘ ให้ทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์จึงต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๙๘ เมื่อการมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้นการมอบอำนาจจึงไม่ชอบ ศาลต้องยกคำร้องของนางเหลือง
                ส่วนที่นายดำอ้างนั้น คำร้องทุกข์นี้จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยวาจาก็ได้ตามมาตรา ๑๒๓ วรรคสาม การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์ด้วยวาจาจึงมิใช่กิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือสามารถมอบอำนาจด้วยวาจาได้เช่นเดียวกัน เมื่อนางสาวขาวมอบอำนาจให้นางเหลืองไปร้องทุกข์ด้วยวาจา และนางเหลืองได้ร้องทุกข์ด้วยวาจา พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์โดยบันทึกเรื่องการมอบอำนาจด้วยวาจาและการร้องทุกข์ด้วย วาจาไว้ พร้อมทั้งลงวันเดือนปีและลายมือชื่อพนักงานสอบสวนกับนางเหลือง การมอบอำนาจและการร้องทุกข์จึงชอบด้วยมาตรา ๑๒๓ วรรคสามแล้ว ข้ออ้างของนายดำฟังไม่ขึ้นศาลต้องยกคำร้องของนายดำ
ข้อสังเกตุ คำถามข้อ ข. หากเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นนาง
สาวขาวอายุ ๑๙ ปี นางเหลืองจะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนเพราะเป็นมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว
ขาวผู้เยาว์ ตามมาตรา ๕ (๑)
                ความเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ จะมีผลถึงสิทธิในการยื่นคำร้องขอให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๔๔/๑ เพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย กล่าวคือกรณีที่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนได้ ตามมาตรา ๔๔/๑ ต่าถ้าไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๔๔/๑ เมื่อวินิจฉัยมาแล้วว่าเด็กหญิงแดงไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก เด็กหญิงแดงจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๔๔/๑ ในคดีอาญา หากเด็กหญิงแดงยังต้องการค่าสินไหมทดแทน เด็กหญิงแดงหรือผู้แทนโดยชอบธรรมต้องไปใช้สิทธิฟ้องเป็นคดีในศาลส่วนแพ่ง โดยอ้างว่าความยินยอมของเด็กหญิงแดงเป็นความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้อง ห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน นายดำจะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
                ส่วนนางเขียวมารดาของเด็กหญิงแดงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องในคดีอาญา ขอให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๔๔/๑ ได้เฉพาะความผิดฐานพรากผู้เยาว์คือเด็กหญิงแดงเท่านั้น เพราะนางเขียวเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงแดงนั้น นางเขียวไม่มีสิทธิเพราะเด็กหญิงแดงผู้เสียหายไม่มีสิทธิ ผู้จัดการแทนจึงไม่มีสิทธิ

                นางสาวขาวมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๔๔/๑ จากความผิดฐานข่มขื่นกระทำชำเราเพราะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ส่วนการดำเนินการก็อาจต้องให้ญาติของนางสาวขาวยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีตาม มาตรา ๖ หรือดำเนินการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้นางสาวขาวเป็นคนไร้ความสามารถ เมื่อมารดาเป็นผู้อนุบาล มารดาของนางสาวขาวก็มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา ๕(๑)